ภาพรวมวิธีการรักษา/โรคที่รักษา
- หน้าหลัก/
- ภาพรวมวิธีการรักษา/โรคที่รักษา
เกี่ยวกับการรักษาที่คลินิกของเรา
คลินิกเราดำเนินการรักษาเกี่ยวกับโรคทางกระดูกสันหลังต่างๆ เช่น โรคโพรงกระดูกสันหลังตีบแคบ โรคหมอนรองกระดูกเคลื่อนทับเส้นประสาทและอื่นๆโดยรักษาแบบผู้ป่วยนอกที่สามารถกลับบ้านได้ในวันเดียวหลังการรักษาและมีการล่วงล้ำเข้าสู่ร่างกายน้อยทดแทนวิธีการรักษาแบบผ่าตัดแบบเดิม อีกทั้งเรายังนำเสนอวิธีการรักษาที่เป็นพื้นฐานทางการแพทย์และมีรายงานผลว่ามีประสิทธิภาพโดยกลุ่มการประชุมสัมนาทางวิชาการ มีความปลอดภัยสูงและเป็นการรักษาหมอนรองกระดูกสันหลังที่ทางยุโรปและอเมริกาเหนือใช้รักษาคนไข้
เราใช้ความพยายามและเวลากว่าสองปีในการนำเอาวิธีการรักษาที่ต่างประเทศใช้นี้เข้ามาใช้จนมั่นใจได้ว่าเป็นการรักษาที่ได้รับความพึงพอใจจากคนไข้ในแถบเอเชียรวมถึงประเทศญี่ปุ่น คลินิกของเรามีวิธีการรักษาทั้งหมด 5 วิธี ในแต่ละวิธีก็มีลักษณะเด่นต่างๆและเพื่อให้ทำความเข้าใจได้ง่ายเราจึงทำสรุปข้อมูลเริ่มจากประวัติการรักษา โรคที่รักษาและการเปรียบเทียบกับวิธีแบบผ่าตัดดังต่อไปนี้


ภาพรวมวิธีการรักษา
-
วิธีการรักษาแบบ DST (Discseel™)
การรักษาหมอนรองกระดูกสันหลังที่เริ่มมีมาตั้งแต่ปี 2010 ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา วิธีนี้สามารถรักษาโรคได้หลายหลายประเภทรวมถึงผู้ป่วยที่มีปัญหาหลังการผ่าตัดด้วยและเป็นเพียงวิธีเดียวที่สามารถ “ ซ่อมแซมและฟื้นฟูหมอนรองกระดูกสันหลัง ” ได้
รายละเอียดคลิกที่นี่ -
วิธีการรักษาแบบ PIDD (Implant)
การรักษาแบบปลูกฝังเข้าไปในหมอนรองกระดูกสันหลังที่เริ่มมีมาตั้งแต่ปี 2000 ประสิทธิภาพที่ได้จะไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อหมอนรองกระดูกสันหลังเช่นเดียวกับวิธีแบบ PLDD วิธีนี้เหมาะสำหรับการรักษาโรคหมอนรองกระดูกเคลื่อนทับเส้นประสาทเท่านั้น
รายละเอียดคลิกที่นี่ -
วิธีการรักษาแบบ ไฮบริดเลเซอร์
การรักษาที่รวมข้อดีของวิธีการรักษาแบบ PLDD และ PODD เข้าด้วยกัน วิธีนี้เหมาะสำหรับการรักษาโรคหมอนรองกระดูกเคลื่อนทับเส้นประสาทเท่านั้น
รายละเอียดคลิกที่นี่ -
วิธีการรักษาแบบ PODD (โอโซน)
การรักษาหมอนรองกระดูกสันหลังด้วยโอโซนที่ใช้รักษากันอย่างแพร่หลายในแถบยุโรปตั้งแต่ปี 1990 วิธีนี้สามารถรักษาโรคได้หลากหลายประเภท
รายละเอียดคลิกที่นี่ -
วิธีการรักษาแบบ PLDD (เลเซอร์)
การรักษาหมอนรองกระดูกสันหลังด้วยเลเซอร์แบบผู้ป่วยนอกเริ่มมีมาตั้งแต่ปี 1980 และเป็นวิธีการรักษาหลักๆที่ใช้ในประเทศญี่ปุ่น วิธีนี้เหมาะสำหรับการรักษาโรคหมอนรองกระดูกเคลื่อนทับเส้นประสาทเท่านั้น
รายละเอียดคลิกที่นี่
ตารางแสดงวิธีการรักษาและโรคที่รักษาได้ของคลินิก
ตารางแสดงวิธีการรักษาและโรคที่รักษาได้ของคลินิก | วิธีการรักษาแบบ DST (Discseel™) |
วิธีการรักษาแบบ PIDD (Implant) |
การรักษาแบบไฮบริดเลเซอร์ | วิธีการรักษาแบบ PODD (Ozone) |
วิธีการรักษาแบบ PLDD (Laser) |
---|---|---|---|---|---|
โรคหมอนรองกระดูกเคลื่อนทับเส้นประสาท | ○ | ○ | ○ | ○ | ○ |
โรคโพรงกระดูกสันหลังตีบแคบ | ○ | - | - | ○ | - |
โรคหมอนรองกระดูกสันหลังเสื่อม | ○ | - | - | ○ | - |
โรคกระดูกสันหลังส่วนเอวเคลื่อน | ○ | - | - | - | - |
โรคกระดูกสันหลังแตกหักและเคลื่อน | ○ | - | - | - | - |
โรคกระดูกสันหลังแตกหัก | ○ | - | - | - | - |
ภาวะกระดูกสันหลังส่วนเอวไม่มั่นคง | ○ | - | - | - | - |
โรคกระดูกสันหลังส่วนเอวคด | ○ | - | - | - | - |
ตารางเปรียบเทียบของแต่ละวิธีการรักษารวมทั้งวิธีการผ่าตัด
วิธีการรักษา | วิธีการรักษาแบบ DST (Discseel™) | วิธีการรักษาแบบ PIDD(Implant) | การรักษาแบบไฮบริดเลเซอร์ | วิธีการรักษาแบบ PODD(Ozone) | วิธีการรักษาแบบ PLDD(Laser) | MED (การผ่าตัดหมอนรองกระดูกสันหลังด้วยกล้องเอ็นโดสโคป) | การผ่าตัดเชื่อมข้อกระดูกสันหลังและการผ่าตัดลดแรงดัน |
---|---|---|---|---|---|---|---|
อัตราการเกิดซ้ำ (ภายใน 2 ปี หลังการรักษา) | ต่ำมาก | ต่ำ | สูง | สูง | สูง | สูง | สูงมาก |
ผลการซ่อมแซม/ฟื้นฟูหมอนรองกระดูกสังหลัง | ได้ | ไม่ได้ | ไม่ได้ | ไม่ได้ | ไม่ได้ | ไม่ได้ | ไม่ได้ |
ความเสียหายต่อหมอนรองกระดูกสันหลังหลังการรักษา | ไม่มี | เล็กน้อย | มี | เล็กน้อย | มี | มี | มี |
ระยะเวลาการรักษาในโรงพยาบาล | ผู้ป่วยนอก | ผู้ป่วยนอก | ผู้ป่วยนอก | ผู้ป่วยนอก | ผู้ป่วยนอก | ประมาณ 7 วัน | ประมาณ 21 วัน |
ความจำเป็นในการมาโรงพยาบาลเป็นประจำ | ไม่จำเป็น | ไม่จำเป็น | ไม่จำเป็น | ไม่จำเป็น | ไม่จำเป็น | จำเป็น | จำเป็น |
การครอบคลุมของประกันสุขภาพ | × | × | × | × | × | ○ | ○ |
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับข้อแตกต่างระหว่างการรักษาของคลินิกเรากับวิธีการผ่าตัด
-
ความเสี่ยงระหว่างการรักษาแบบผู้ป่วยนอกของคลินิกเรากับวิธีการผ่าตัด
การผ่าตัดแบบทั่วไปคือการเหลากระดูกแล้วยึดด้วยสกรูภายใต้การดมยาสลบโดยใช้เครื่องช่วยหายใจ หากมีอาการปวดมากก็อาจจะใช้สารเสพติดร่วมด้วย ผู้สูงอายุที่ไม่มีพละกำลังก็จะอยู่ในสภาพนอนติดเตียงและเริ่มทำกายภาพฟื้นฟูหลังผ่าตัดได้ช้า ผู้ที่มีโรคทางอายุรกรรม (โรคเบาหวาน โรคถุงลมโปร่งพอง โรคลิ้นหัวใจตีบ โรคเส้นเลือดในสมองตีบ) อาจจะมีความเสี่ยงเรื่องโรคแทรกซ้อนเช่น การติดเชื้อบริเวณสกรูหลังผ่าตัด ปอดอักเสบ กล้ามเนื้อหัวใจตาย โรคเส้นเลือดในสมองตีบ เป็นต้น
แม้แต่ผู้ที่มีสุขภาพแข็งแรงก็อาจจะมีความเสี่ยงเรื่องความเสียหายต่อเส้นประสาทได้และแม้ว่าจะเป็นวิธีการผ่าตัดเอาส่วนของหมอนรองกระดูกสันหลังที่เคลื่อนออกไปได้แบบง่ายๆแต่ก็มีความเป็นไปได้ที่จะทำให้เกิดอัมพาต
การรักษาของคลินิกเราเป็นการสอดเข็มขนาด 0.8~1.0 มม. เข้าไปในหมอนรองกระดูกสันหลังภายใต้การใช้ยาชาเฉพาะที่ ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นผู้สูงอายุหรือผู้ที่มีโรคทางอายุรกรรมก็สามารถเข้ารับการรักษาได้อย่างปลอดภัย ระดับความเสียหายที่เกิดขึ้นกับร่างกายก็มีเพียงเล็กน้อยคล้ายกับการถอนฟันเท่านั้น
อีกทั้งมีการใช้เครื่องฟลูออโรสโคปร่วมด้วยเพื่อไม่ให้เข็มที่สอดเข้าไปสัมผัสโดนเส้นประสาท เนื่องจากเราคำนึงถึงความปลอดภัยเป็นอย่างมากเครื่องฟลูออโรสโคปที่คลินิกเราใช้จึงเป็นเครื่องที่สามารถสะท้อนภาพออกมาได้ความละเอียดและคมชัดสูงเช่นเดียวกับการใช้สายสวนหลอดเลือดหัวใจ หากเข็มที่สอดเข้าไปสัมผัสโดนเส้นประสาทจะเกิดอาการชาชั่วคราวแต่เกิดขึ้นน้อยครั้งมากเพราะเป็นเข็มขนาดเล็กจึงเกิดความเสียหายต่อเส้นประสาทในระดับที่ทำให้บาดเจ็บหรือเจ็บป่วยได้ยาก
-
เหลือรอยแผลหลังการรักษามากน้อยแค่ไหน?
เนื่องจากใช้เข็มขนาดเพียง 0.8 มม. ในวันถัดไปจึงแทบจะมองไม่เห็นรอยแผล

-
ระยะเวลาที่จะเห็นผลลัพธ์ระหว่างการรักษาแบบผู้ป่วยนอกของทางคลินิกกับการรักษาแบบผ่าตัดทั่วไป
การผ่าตัดเป็นการรักษาทางกายภาพที่ตัดโครงสร้างหรือกระดูกที่ผิดรูปทิ้ง หลังผ่าตัดอาการปวดขาจะดีขึ้นโดยใช้เวลาประมาณ 1-3 สัปดาห์ แต่การรักษาอาการปวดหลังแบบผู้ป่วยนอกของคลินิกเรานั้นหลังรักษาอาการจะค่อยๆดีขึ้นตามระยะเวลา การรักษาด้วยวิธี DST เป็นการรักษาที่ต้นเหตุซึ่งจะทำให้อาการดีขึ้นได้จากการซ่อมแซมฟื้นฟูหมอนรองกระดูกสันหลังที่เกิดความเสียหายอันเป็นสาเหตุของโรคทางกระดูกสันหลัง ระยะเวลาก็แตกต่างกันไปในแต่ละบุคคลบางกรณีอาจจะใช้เวลานานถึงหกเดือนในการฟื้นฟูโครงสร้างของหมอนรองกระดูกสันหลัง
-
ความแตกต่างของอัตราการเกิดซ้ำระหว่างการรักษาแบบผู้ป่วยนอกของทางคลินิกกับการรักษาแบบผ่าตัดทั่วไป
การผ่าตัดเริ่มขึ้นเมื่อปี 1960 เป็นการตัดโครงสร้างที่ผิดรูปหรือเคลื่อนทิ้งและเชื่อมยึดไว้ แต่ไม่ใช่วิธีการรักษาที่ต้นเหตุและสกรูที่ใช้ยึดอาจจะทำให้เกิดความเสียหายต่อกระดูกขึ้นใหม่ได้จึงเป็นปัญหาเรื่องการเกิดซ้ำและอาการปวดหลังปวดเอวใหม่ๆเกิดขึ้น
ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีการรักษาที่ต้นเหตุขึ้นในปี 1980 และคลินิกเราก็ได้เริ่มต้นการรักษาหมอนรองกระดูกสันหลังซึ่งเป็นการรักษาที่ต้นเหตุขึ้นเช่นกัน ปัจจุบันวงการแพทย์ก้าวหน้ามากไม่ว่าจะการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิด (Stem Cell) หรือ DST โดยเฉพาะ DST ที่มีการยอมรับผลว่าสามารถซ่อมแซมฟื้นฟูได้ไม่ใช่เพียงแค่ทำให้อาการดีขึ้น แต่อัตราการเกิดซ้ำก็ลดลงด้วยเช่นกัน