การรักษาโรคโพรงกระดูกสันหลังตีบแคบแบบกลับบ้านได้ในวันเดียว
- หน้าหลัก/
- ภาพรวมวิธีการรักษา/โรคที่รักษา/
- การรักษาโรคโพรงกระดูกสันหลังตีบแคบแบบกลับบ้านได้ในวันเดียว
โรคโพรงกระดูกสันหลังตีบแคบคืออะไร?
ภาวะที่ทางผ่านของเส้นประสาทที่อยู่กลางกระดูกสันหลังตีบแคบลง ทางผ่านของเส้นประสาทนั้นเรียกว่า "โพรงกระดูกสันหลัง" โดยทั่วไปกระดูกสันหลังแบ่งส่วนประกอบออกเป็น 3 ส่วนใหญ่ๆ ได้ดังรูปภาพ คือ ①กระดูกสันหลัง ②หมอนรองกระดูกสันหลัง ③เส้นประสาท


โรคโพรงกระดูกสันหลังตีบแคบ คือ การที่เส้นประสาทถูกกดทับเนื่องจากโพรงกระดูกสันหลังที่กล่าวมาข้างต้นตีบแคบลง
โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาวะที่โพรงกระดูกตีบแคบลงที่หลังส่วนล่าง จะเรียกว่า โรคโพรงกระดูกสันหลังตีบแคบ
ในกรณีที่กระดูกสันหลังส่วนล่างมีความไม่มั่นคงจะทำให้เกิดความเจ็บปวดในขณะที่เคลื่อนไหวร่างกายได้
โรคโพรงกระดูกสันหลังตีบแคบมีอยู่ 3 แบบดังนี้ ①แบบรากประสาท②แบบรากประสาทหางม้า③แบบผสม (รวมทั้งแบบรากประสาทและรากประสาทหางม้า)
แบบรากประสาทสามารถรักษาได้ง่าย โดยส่วนใหญ่จะใช้วิธีการรักษาแบบประคับประคอง (ใข้ยาหรือกายภาพบำบัด)
เช่น การรับประทานยาหรือการฟื้นฟูสมรรถภาพ แต่แบบรากประสาทหางม้าและแบบผสมในหลายๆ กรณีอาการอาจจะไม่ดีขึ้นหากไม่ได้รับการผ่าตัด




โรคโพรงกระดูกสันหลังตีบแคบทำให้เกิดอาการชาและปวดที่บริเวณหลังส่วนล่างและขา ลักษณะคล้ายกับการนั่งทับส้นเท้าและยืดหลังตรงเป็นเวลานานจะทำให้เส้นประสาทไซอาติกที่อยู่ด้านหลังต้นขาถูกกดทับจึงรู้สึกชาที่ขาและหากถูกกดทับอย่างต่อเนื่องก็จะทำให้ปวดขา อาการในระยะแรกอาจจะไม่ค่อยรู้สึกถึงอาการปวดและชาเนื่องจากการกดทับเส้นประสาทยังไม่รุนแรง แต่หากออกกำลังกายการกดทับจะรุนแรงขึ้นจนทำให้อาการปวดและชาแสดงออกมาได้ อาการปวดและชาที่แสดงออกมาเช่นนั้นเราเรียกว่า Intermittent Claudication คือ อาการปวดชาขาเป็นระยะเมื่อเดินหรือออกแรงมาก อาการ Intermittent Claudication นี้ตอนเดินจะปวดกล้ามเนื้อ เช่น บริเวณน่องจนไม่สามารถเดินต่อได้
สาเหตุของโรคโพรงกระดูกสันหลังตีบแคบคืออะไร?
มีอาการเดินลำบาก ปวดหรือชาที่ต้นขา ระหว่างเดินมีอาการเจ็บแต่หลังจากนั่งพักแล้วก็สามารถเดินต่อได้
มีอาการปวดเมื่อยืดตัว อาการปวดขณะยืนนานๆ รู้สึกปวดตัวเวลาลุกจากเตียง การเดินลำบากเนื่องจากการตีบของโพรงกระดูกสันหลัง
หากเดินแล้วต้องพักกลางทาง หรือถ้าไม่หยุดพักจะไม่สามารถเดินต่อได้ อาการเหล่านี้เป็นลักษณะอาการต่างๆ ที่รบกวนชีวิตประจำวัน ซึ่งเป็นอาการที่ออกมาจากเส้นประสาท
การกดทับเส้นประสาทนั้นมีหลายสาเหตุที่เป็นไปได้ที่ส่งผลต่ออาการเหล่านี้ แต่ในปีที่ผ่านมาก็สามารถหาสาเหตุได้ชัดเจนขึ้นแล้ว
จากผลการวิจัยล่าสุดพบว่ารอยแตกเสียหายของหมอนรองกระดูกสันหลังก็เป็นอีกต้นเหตุหนึ่งที่มีส่วนเกี่ยวข้องโดยจะอธิบายดังต่อไปนี้
อาการปวดหลังเรื้อรังจะไม่เกิดขึ้นในวัยเด็กเนื่องจากหมอนรองกระดูกสันหลัง กระดูกและเส้นประสาทไม่มีความเสียหายและทำหน้าที่ได้ตามปกติ
แต่พออายุมากขึ้นหลังส่วนล่างก็จะรับภาระมากขึ้น โดยบางคนอาจจะเริ่มเสื่อมเร็วตั้งแต่ช่วงอายุ 16 ปีขึ้นไป
หมอนรองกระดูกสันหลังจะค่อยๆ เกิดรอยแตกทำให้สารน้ำซึ่งเป็นส่วนประกอบหลักของหมอนรองกระดูกสันหลังไหลออกมาจากรอยแตกนั้น
ขนาดของหมอนรองกระดูกสันหลังก็จะลดลงและฟังก์ชั่นการทำงานก็ลดลงด้วย หากฟังก์ชั่นการทำงานของหมอนรองกระดูกสันหลังลดลงก็จะไปเพิ่มภาระให้กับกระดูกและกระดูกก็จะเริ่มเสียรูป
เมื่อกระดูกเสียรูปหรือผิดรูปผิดร่างไปโพรงกระดูกสันหลังที่เป็นช่องซึ่งมีเส้นประสาทลอดผ่านอยู่ก็จะตีบแคบลงและเริ่มกดทับเส้นประสาท
สรุปคือโรคโพรงกระดูกสันหลังตีบแคบเริ่มมาจากรอยแตกหรือความเสียหายของหมอนรองกระดูกสันหลังนั่นเอง
-
สภาพรอยแตกที่เยื่อหุ้มชั้นนอกของหมอนรองกระดูกสันหลัง
-
สภาพหมอนรองกระดูกสันหลังยุบ กระดูกเสียรูปและเส้นประสาทถูกกดทับ
การรักษาโรคโพรงกระดูกสันหลังตีบแคบ
วิธีรักษาแบบประคับประคอง วิธีผ่าตัด วิธี DST
การรักษาโรคโพรงกระดูกสันหลังตีบแคบ ส่วนมากจะเลือกใช้รักษาโดยวิธีประคับประคองเป็นอันดับแรก จะปรับสภาพโดยมีการจ่ายยา และแนะนำวิธีการออกกำลังกาย
หากวิธีรักษาแบบประคับประคองไม่ดีขึ้น และยังมีอาการปวด ชา เดินไม่ได้ หรือปัสสาวะยาก ก็จะเลือกใช้วิธีผ่าตัด
คลินิกเรามีวิธี DST เพื่อรักษาโรคโพรงกระดูกสันหลังตีบ
อาการปวดหลังส่วนล่างสามารถรักษาได้ในหนึ่งวันก็สามารถกลับบ้านได้เลย โดยไม่ต้องผ่าเปิดแผล และสามารถรักษาผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงในการผ่าตัด หรือผู้ที่มีอาการปวดหรือชากำเริบ
โรคนี้เป็นโรคที่พบได้มากกับผู้สูงอายุ ซึ่งในปัจจุบันประเทศญี่ปุ่นเป็นสังคมผู้สูงอายุจึงทำให้มีหลายคนที่กังวลกับเรื่องนี้
สำหรับผู้ที่มีความกังวลเกี่ยวกับโรคโพรงกระดูกสันหลังตีบแคบนั้น กรุณาอย่าลังเลที่จะลองเข้ามาปรึกษาเกี่ยวกับโรคนี้ ทางเราพร้อมที่จะให้ความช่วยเหลือแก่คุณ
การรักษาของคลินิกเรามีประสิทธิภาพอย่างไรต่อโรคโพรงกระดูกสันหลังตีบแคบ?
การผ่าตัดแบบเปิดแผลทั่วไปเริ่มมีมาตั้งแต่ปี 1960 เป็นการตัดกระดูกบางส่วนออกแล้วทำการเชื่อมยึดไว้ แต่มีความเสี่ยงในการผ่าตัดสูงและไม่ใช่วิธีการรักษาที่ต้นเหตุ ดังนั้นจะมีอัตราการเกิดซ้ำสูงประมาณ 30-46%(ภายในระยะเวลาสองปี) ปัจจุบันมีการผ่าตัดแบบเปิดแผลเล็กหรือแบบส่องกล้อง แต่โดยหลักการแล้วก็มีอัตราการเกิดซ้ำสูงเช่นเดียวกันกับวิธีการผ่าตัดแบบทั่วไปเพราะไม่ได้เป็นการรักษาที่ต้นเหตุ


การเชื่อมข้อกระดูกสันหลัง (การผ่าตัดแบบเปิดแผล)
จากปัญหาเกี่ยวกับวิธีการผ่าตัดตามที่ได้อธิบายข้างต้นจึงเริ่มมีการรักษาหมอนรองกระดูกสันหลังขึ้นตั้งแต่ปี 1980 ปัจจุบันการรักษาโรคโพรงกระดูกสันหลังด้วยวิธี DST(Discseel ™ Treatment)
เนื่องจากมีความเสี่ยงน้อยและอัตราการเกิดซ้ำต่ำ วิธีนี้จึงเป็นการลดภาระให้กับร่างกาย นอกจากนี้ยังมีแผลเพียงเล็กน้อยเพราะใช้เข็มขนาดเล็ก แผลเป็นจะไม่คงอยู่เพราะจะปิดแผลเป็นเวลา 1 อาทิตย์
คลินิกของเราให้คำปรึกษาในตอนเช้า และรักษาในช่วงบ่าย ดังนั้นผู้ป่วยที่อยู่ไกลและผู้ป่วยที่อยู่ต่างประเทศก็สามารถรักษาแบบเช้าไปเย็นกลับได้
นอกจากนี้การวินิจฉัยจากภาพจะสามารถทำล่วงหน้าได้ และจะวิเคราะห์ว่าสามารถใช้วิธี DST ได้หรือไม่


-
ตรวจสอบว่าหมอนรองกระดูกสันหลังมีรอยแตกหรือไม่ด้วยสารทึบรังสี
-
ฉีดตัวยาเข้าไปยังจุดที่หมอนรองกระดูกสันหลังมีรอยแตกให้โครงสร้างประสานกัน
-
ตัวยาเป็นสารทางสรีรวิทยาจึงก่อให้เกิดอาการแพ้หรือผลข้างเคียงน้อยมาก
-
ภาพก่อนและหลังการรักษา
วิธีการป้องกันอาการปวดตามเส้นประสาทไซอาติกคืออะไร
การออกกำลังกายโดยไม่กระทบชีวิตประจำวันนั้นเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง เพื่อบรรเทาอาการปวดหลังส่วนล่าง การบริหารร่างกายและการสังเกตตัวเองก็สำคัญเช่นกัน
หลังรักษาที่คลินิกเราแล้ว จะมีการชี้แนะในเรื่องการออกกำลังกายด้วย ทางเราจะบอกวิธีการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับอาการและสภาพของผู้ป่วย และจะเน้นให้ออกกำลังกายในทุกวันเป็นหลัก
นอกจากนี้ทางเราจะสร้างโปรแกรมสำหรับอาการปวดหลังส่วนล่างสำหรับผู้ที่เข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพหลายครั้ง และมีการเทรนนิ่งด้วย
โฮมเพจสำหรับศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพที่เชี่ยวชาญด้านอาการปวดหลังส่วนล่างที่ร่วมมือกับคลินิกเรา
https://ilm-fitness.com/
ถามตอบเกี่ยวกับโรคโพรงสันหลังตีบแคบ
-
ในกรณีที่ต้องผ่าตัดโรคโพรงกระดูกสันหลังตีบแคบนั้น ต้องมีอาการอะไรบ้าง
ในกรณีที่มีความยากลำบากเวลาเดิน ปัสสาวะยาก อาการที่ส่งผลต่อชีวิตประจำวัน มีอาการปวด ชา จนไม่สามารถทนได้ ก็จะเลือกวิธีผ่าตัด
-
หากผ่าตัดโรคโพรงกระดูกสันหลังตีบแคบแล้ว ในอนาคตสามารถเดินได้ไหม
ขึ้นอยู่กับอาการของแต่ละคน บางคนอาการหนักมากก็ไม่สามารถเดินได้ก็มี
-
การรักษาโรคโพรงกระดูกสันหลังตีบแคบมีวิธีรักษาอะไรบ้าง
รักษาโดยวิธีผ่าตัด จะใช้วิธีการผ่าตัดเชื่อมกระดูก(ตรึงกระดูก) หรือการผ่าตัดด้วยกล้องเอนโดสโคป เพื่อเป็นการรักษาสภาพของหลังส่วนล่าง
-
วิธีรักษาแบบประคับประคองไม่สามารถทำให้หายใช่หรือไม่
ไม่สามารถทำให้หายขาดได้ เพราะไม่ได้เป็นวิธีรักษาเพื่อบรรเทาอาการปวดและชา คาดว่าน่าจะมีวิธี DST เท่านั้นที่จะรักษาอาการปวดอย่างรุนแรงได้ และสามารถซ่อมแซมหมอนรองกระดูกได้ด้วย
-
หลังจากได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคโพรงกระดูกสันหลังตีบแคบและได้ใช้วิธีรักษาโดยการผ่าตัดเชื่อมกระดูกแล้ว แต่อาการปวดยังคงอยู่
การรักษาโดยวิธี DST สามารถรักษาได้หรือไม่ก่อนอื่นจะทำการวินิจฉัยอาการของร่างกายก่อน หลังจากนั้นจึงจะสามารถรักษาโรคโพรงกระดูกสันหลังตีบแคบได้
ดังนั้นกรุณาอย่าลังเลที่จะลองเข้ามาปรึกษาเกี่ยวกับโรคนี้ ทางเราพร้อมที่จะให้ความช่วยเหลือแก่คุณ
ความร่วมมือระหว่างILCและILMในการรักษาโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท
วิธีรักษา DST สามารถช่วยซ่อมแซมและสร้างหมอนรองกระดูกขึ้นมาใหม่ได้ นอกจากนั้นคลินิกเรายังมีวิธีรักษาหมอนรองกระดูกที่สามารถกลับบ้านได้ภายในวันเดียวอีกด้วย
แต่สาเหตุของการปวดหลังนั้นอาจไม่ได้มาจากหมอนรองกระดูกเพียงอย่างเดียว แต่อาจมาจากกล้ามเนื้อ ข้อต่อ หรือ เส้นเอ็น ก็เป็นได้
คลินิกเราได้ร่วมมือจากผู้เชี่ยวชาญติดตั้งเครื่องมือทางกายภาพบำบัดเพื่อการพักฟื้นอาการปวดหลัง ที่อาจได้รับผลกระทบจากกล้ามเนื้อ ข้อต่อ หรือ เส้นเอ็น ซึ่งเราจะมีการให้รักษาควบคู่ไปด้วย
ILM Medical Fitness มีโปรแกรมระยะสั้นสำหรับผู้ป่วยที่มาจากต่างประเทศหรือจากต่างจังหวัดอีกด้วย
วิธีรักษาของILCคลินิก
วิธีรักษาหมอนรองกระดูกที่สามารถกลับบ้านได้ภายในวันเดียว
การรักษาโรคปวดหลังที่สาเหตุมาจากเส้นประสาท


วิธีรักษาของILM Medical Fitness
การฟื้นฟูสมรรถภาพอาการปวดหลัง
การรักษาโรคปวดหลังที่สาเหตุมาจากกล้ามเนื้อ ข้อต่อ หรือ เส้นเอ็น


ภาพรวมวิธีการรักษา
-
วิธีการรักษาแบบ DST (Discseel™)
การรักษาหมอนรองกระดูกสันหลังที่เริ่มมีมาตั้งแต่ปี 2010 ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา วิธีนี้สามารถรักษาโรคได้หลายหลายประเภทรวมถึงผู้ป่วยที่มีปัญหาหลังการผ่าตัดด้วยและเป็นเพียงวิธีเดียวที่สามารถ “ ซ่อมแซมและฟื้นฟูหมอนรองกระดูกสันหลัง ” ได้
รายละเอียดคลิกที่นี่ -
วิธีการรักษาแบบ PIDD (Implant)
การรักษาแบบปลูกฝังเข้าไปในหมอนรองกระดูกสันหลังที่เริ่มมีมาตั้งแต่ปี 2000 ประสิทธิภาพที่ได้จะไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อหมอนรองกระดูกสันหลังเช่นเดียวกับวิธีแบบ PLDD วิธีนี้เหมาะสำหรับการรักษาโรคหมอนรองกระดูกเคลื่อนทับเส้นประสาทเท่านั้น
รายละเอียดคลิกที่นี่ -
วิธีการรักษาแบบ ไฮบริดเลเซอร์
การรักษาที่รวมข้อดีของวิธีการรักษาแบบ PLDD และ PODD เข้าด้วยกัน วิธีนี้เหมาะสำหรับการรักษาโรคหมอนรองกระดูกเคลื่อนทับเส้นประสาทเท่านั้น
รายละเอียดคลิกที่นี่ -
วิธีการรักษาแบบ PODD (โอโซน)
การรักษาหมอนรองกระดูกสันหลังด้วยโอโซนที่ใช้รักษากันอย่างแพร่หลายในแถบยุโรปตั้งแต่ปี 1990 วิธีนี้สามารถรักษาโรคได้หลากหลายประเภท
รายละเอียดคลิกที่นี่ -
วิธีการรักษาแบบ PLDD (เลเซอร์)
การรักษาหมอนรองกระดูกสันหลังด้วยเลเซอร์แบบผู้ป่วยนอกเริ่มมีมาตั้งแต่ปี 1980 และเป็นวิธีการรักษาหลักๆที่ใช้ในประเทศญี่ปุ่น วิธีนี้เหมาะสำหรับการรักษาโรคหมอนรองกระดูกเคลื่อนทับเส้นประสาทเท่านั้น
รายละเอียดคลิกที่นี่