วิธีการรักษาแบบ DST
- หน้าหลัก/
- ภาพรวมวิธีการรักษา/โรคที่รักษา/
- วิธีการรักษาแบบ DST
DST คือ
DST (Discseel™ treatment)DST (Discseel Treatment)ได้รับการวิจัยตั้งแต่ปี 2010 โดยทีม Dr.Kevin Pauza แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านศัลยกรรมกระดูกสันหลังของสหรัฐอเมริกา (รัฐเท็กซัส) เป็นศูนย์กลางในการทำวิจัย DST เป็นวิธีการรักษาแบบใหม่ที่ใช้รักษาโรคทางกระดูกสันหลังและเริ่มนำมารักษากับคนไข้จริง จนถึงปีปัจจุบัน 2018 นี้ได้ทำการรักษามาแล้วประมาณ 2,000 ราย ผลการรักษานั้นได้ถูกเขียนไว้ในบทความจำนวนมาก ในปี 2003 พวกเขาได้รับรางวัลจากการคัดเลือกบทความโดย American Academy of Orthopaedic Surgeons DST มีลักษณะเด่นสามประการที่การรักษาแบบผ่าตัด ( การผ่าตัดหมอนรองกระดูกด้วยการส่องกล้อง การลดแรงดัน การเชื่อมข้อกระดูก )ไม่มี ดังต่อไปนี้
-
1
สามารถซ่อมแซมและฟื้นฟูหมอนรองกระดูกสันหลังได้ ซึ่งวิธีการผ่าตัดและการปลูกถ่ายเซลล์ไม่สามารถทำได้
-
2
สามารถกลับบ้านได้ในวันเดียวหลังการรักษาเสร็จสิ้นเพราะการรักษาใช้เพียงแค่เข็มฉีดยาและยาชาเฉพาะที่เท่านั้น
-
3
สามารถรักษาผู้ป่วยที่เคยผ่าตัดกระดูกสันหลังแล้วแต่อาการไม่ดีขึ้นและผู้ที่มีอาการกลับมาเป็นซ้ำอีกได้
คลินิกรักษาอาการปวดหลังนานาชาติ ILC มีสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาเกี่ยวกับการรักษากับคนไข้จริงร่วมกับ Dr. Kevin Pauza ซึ่งเป็นผู้สนับสนุนวิธีการรักษาแบบ DST นี้ รวมถึงการวิจัยร่วมกันและได้เปิดดำเนินการรักษาด้วยวิธี DST มาตั้งแต่เดือนมิถุนายน ปี 2018 จากความร่วมมือของ Dr. Kevin Pauza ปัจจุบันคลินิกรักษาอาการปวดหลังนานาชาติ ILC เป็นสถาบันการแพทย์เดียวในประเทศญี่ปุ่นที่สามารถดำเนินการรักษาแบบ DST ได้


เกี่ยวกับวิธีรักษา DST(DISCSEEL)
เงื่อนไขโรคที่สามารถรักษาได้
- โรคหมอนรองกระดูกเคลื่อนทับเส้นประสาท
- โรคโพรงกระดูกสันหลังตีบแคบ
- โรคหมอนรองกระดูกสันหลังเสื่อม
- โรคกระดูกสันหลังเอวเคลื่อน
- โรคกระดูกสันหลังแตกหักและเคลื่อน
- โรคกระดูกสันหลังแตกหัก
- โรคภาวะกระดูกสันหลังส่วนเอวไม่มั่นคง
- โรคกระดูกสันหลังส่วนเอวคด
กลุ่มคนที่มีปัญหาเหล่านี้
-
1
ผู้ที่ทรมานจากอาการปวดหลังส่วนล่าง เช่น โรคหมอนรองกระดูกเคลื่อนทับเส้นประสาท โรคโพรงกระดูกสันหลังตีบแคบ อาการปวดสะโพกร้าวลงขา โรคกระดูกสันหลังเอวเคลื่อน เป็นต้น
-
2
ผู้ที่หมอนรองกระดูกสันหลังสูญเสียมวลน้ำและยุบตัว
-
3
ผู้ที่ทรมานจากอาการปวดหลังส่วนล่างอันมีสาเหตุมาจากหมอนรองกระดูกเสื่อมสภาพ
-
4
ผู้ที่ไม่ต้องการผ่าตัด MED (การผ่าตัดหมอนรองกระดูกสันหลังด้วยกล้องเอ็นโดสโคป) ผ่าตัดเชื่อมข้อกระดูกสันหลังและผ่าตัดเปลี่ยนหมอนรองกระดูกเทียม
-
5
ผู้ที่เคยผ่าตัด MED (การผ่าตัดหมอนรองกระดูกสันหลังด้วยกล้องเอ็นโดสโคป) และผ่าตัดเชื่อมข้อกระดูกสันหลังแล้วแต่อาการไม่ดีขึ้นหรือกลับมาเป็นซ้ำอีก
-
6
ผู้ที่ไม่ต้องการเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลเพื่อผ่าตัดรักษาอาการปวดหลังส่วนล่าง
-
7
ผู้ที่ต้องการรักษาแบบที่เจ็บตัวน้อย
-
8
ผู้ที่อยากใช้ชีวิตประจำวันได้ปกติ อยากเล่นกีฬา เช่น กอล์ฟ แต่ไม่สามารถทำได้เนื่องจากมีอาการปวดเอวปวดขา
※ผู้สูงอายุ (ที่มีอายุมากกว่า 80 ปีขึ้นไป) ก็สามารถเข้ารับการรักษาได้
ข้อดีของการรักษาแบบ DST
-
ปรับปรุงหน้าที่การทำงานในการกันกระแทกของหมอนรองกระดูกสันหลัง
DST สามารถรักษาอาการปวดหลังส่วนล่างได้หลากหลายอาการโดยปรับปรุงหน้าที่การทำงานของหมอนรองกระดูกสันหลังที่แตกเสียหายเนื่องจากอายุเยอะ สูญเสียน้ำและการใช้งานหนักมากเกินไป
-
การรักษาแบบผู้ป่วยนอกที่เจ็บตัวน้อย
ใช้เวลาในการรักษาประมาณ 25 นาที หลังรักษาประมาณ 30 นาที สามารถเดินได้ โดยรวมประมาณ 60 นาที ก็สามารถกลับบ้านได้
-
การรักษาแบบใหม่ที่ไม่ต้องผ่าตัด
DST คือการรักษาทางเลือกสำหรับผู้ที่กำลังพิจารณาการผ่าตัดเชื่อมข้อกระดูกสันหลังหรือผู้ที่เคยผ่าตัดเชื่อมข้อมาแล้วแต่อาการไม่ดีขึ้น
วัตถุประสงค์ของการรักษาด้วยวิธี DST
วัตถุประสงค์ของการรักษาด้วยวิธี DST คือ การแก้ไขอาการปวดหลังส่วนล่างและความผิดปกติของเส้นประสาทให้ดีขึ้นโดยซ่อมแซมและฟื้นฟูหมอนรองกระดูกสันหลังที่ได้รับความเสียหายอันเป็นสาเหตุหลักของโรคหมอนรองกระดูกเคลื่อนทับเส้นประสาท โพรงกระดูกสันหลังตีบแคบและกระดูกสันหลังเสียรูป
การรักษาความเสียหายของหมอนรองกระดูกสันหลังด้วยวิธีการรักษาแบบ DST
หลังจากใช้ยาชาเฉพาะที่แล้ว แพทย์จะสอดเข็ม(Paracentesi)ขนาด 0.8 มิลลิเมตรเข้าไปในหมอนรองกระดูกสันหลัง ในขั้นตอนนี้มีการใช้เครื่องเอ็กซเรย์ฟลูออโรสโคปเพื่อตรวจสอบตำแหน่งเข็มร่วมด้วยจึงมีความเป็นไปได้น้อยที่จะสร้างความเสียหายต่อเส้นประสาท
-
หมอนรองกระดูกสันหลังที่แตกเสียหาย
-
สอดเข็มลงในหมอนรองกระดูกสันหลังที่แตกและฉีดตัวยาเข้าไป ※ผลข้างเคียงหรืออาการแพ้ยามีน้อยมาก
-
หมอนรองกระดูกสันหลังได้รับการซ่อมแซมและฟื้นฟู
-
เห็นภาพความเสียหายของหมอนรองกระดูกสันหลังได้ชัดเจนจากการตรวจสอบด้วยสารทึบรังสี
-
ฉีดยาเข้าไปในส่วนที่หมอนรองกระดูกสันหลังเกิดความเสียหาย
-
ผลข้างเคียงหรืออาการแพ้ยาเกิดขึ้นได้น้อยมาก
-
ภาพความเปลี่ยนแปลงหลังการรักษา
เวลาในการรักษาและปัญหาหลังการรักษา
- เวลาที่ใช้ในการรักษา:
- ประมาณ 25 นาที
หลังเข้ารับการรักษา 30 นาที ก็สามารถเดินได้ (แตกต่างกันขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล) หลัง 60 นาที สามารถกลับบ้านได้ สำหรับการนั่งทำงานหรือกิจกรรมเบาๆ สามารถทำได้ในวันถัดไป แต่การเล่นกีฬาหรือใช้แรงงานหนักจำเป็นต้องหยุดพักไว้ประมาณหนึ่งเดือนและหลังรักษาประมาณสองสัปดาห์อาจจะมีอาการแย่ลงชั่วคราว
- ปัญหาหลังการรักษา
- การคาดหวังผลการรักษาต้องใช้เวลาประมาณ 3-6 เดือน จึงจะเห็นผลลัพธ์ที่ชัดเจน เหตุผลที่ใช้เวลานานเป็นไปได้ว่าเนื่องจากในหมอนรองกระดูกไม่มีหลอดเลือด ปัจจัยการจริญเติบโตที่จำเป็นต่อการฟื้นฟูและซ่อมแซมหมอนรองกระดูกจึงถูกชดเชยขึ้นด้วยการซึมผ่านช้าๆจากกระดูก นอกจากนี้ที่ประเทศสหรัฐอเมริกาได้มีการแนะนำให้นักกีฬาทำ DST ปีละครั้ง เพราะถ้าใช้ร่างกายหนักๆก็จะทำให้เกิดการบาดเจ็บของหมอนรองกระดูกขึ้นมาใหม่ได้ แต่หากเป็นกีฬาที่เล่นในระดับทั่วๆไปจะไม่มีปัญหาใดๆ
- เรื่องผลข้างเคียง
-
ความสูงที่เพิ่มขึ้นเป็นผลข้างเคียงหนึ่งของการรักษา กล่าวคือหมอนรองกระดูกสันหลังที่ยุบตัวจะถูกซ่อมแซมฟื้นฟูทำให้กลับมามีขนาดความสูงเท่าเดิม ดังนั้นผลข้างเคียงที่ว่าความสูงเพิ่มขึ้นนี้เป็นผลมาจากหมอนรองกระดูกที่เกิดการยุบตัวมีความหนาเพิ่มขึ้นจึงไม่ใช่ผลข้างเคียงที่ไม่ดี
การป้องกันอาการปวดหลังส่วนล่าง
วิธี DST สามารถซ่อมแซมหมอนรองกระดูกได้และยังเป็นการป้องกันโรคต่างๆ ที่เกิดจากหมอนรองกระดูกได้อีกด้วย เช่น โรคหมอนรองกระดูกเคลื่อนทับเส้นประสาท โรคโพรงกระดูกสันหลังตีบแคบ แม้ว่าผลจากเครื่อง MRI หรือ เครื่อง X-Ray จะไม่ได้บ่งบอกถึงความเสื่อมของหมอนรองกระดูกหรือแสดงอาการอะไร แต่สามารถพิจารณาถึงความเสี่ยงและวิธีรักษาของอาการปวดหลังที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้
ลองเข้ามาปรึกษาที่คลินิกของเราก่อนได้ เพราะคลินิกของเราจะทำการวินิจฉัยก่อนและตัดสินใจว่าจะใช้วิธี DST หรือ วิธีไหนรักษาอาการผู้ป่วย
หมอนรองกระดูกคืออะไร
หมอนรองกระดูกจะอยู่ระหว่างกระดูกสันหลัง และทำหน้าที่เป็นหมอนรองรับกระดูกสันหลังด้านบนด้านล่าง หมอนรองกระดูกมีลักษณะเป็นวงกลม มีขอบเป็นพังผืดประกอบไปด้วยเส้นใยประสานกัน ส่วนภายในจะมีสารน้ำ (คล้ายเจล) อยู่ หมอนรองกระดูกนี้มีปริมาณน้ำสูงมาก ทำให้กระดูกสันหลังส่วนบนและส่วนล่างมีความยืดหยุ่น เป็นตัวรับและกระจายน้ำหนัก และลดแรงกระแทกได้
ซึ่งเป็นตัวช่วยทำให้ร่างการงอตัวหรือแอ่นตัวได้ และทำให้เคลื่อนที่ไปในทิศทางต่างๆ ได้
เมื่อหมอนรองกระดูกไหลออกมากระทบกับเส้นประสาทก็จะทำให้เกิดอาการปวดหลังส่วนล่างหรืออาการปวดตามเส้นประสาทไซอาติกได้
ทำไมต้องรักษาหมอนรองกระดูก
โรคจากอาการปวดหลังส่วนล่าง เช่น โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท โรคโพรงกระดูกสันหลังตีบแคบ หรือ โรคกระดูกสันหลังเคลื่อน ล้วนเกิดมาจากความเสื่อมของหมอนรองกระดูก
ความเสียหายของหมอนรองกระดูกนั้นเกิดจากการเล่นกีฬาอย่างรุนแรง หรือ อายุที่มากขึ้น จึงทำให้การทำงานของหมอนรองกระดูกลดลง และเป็นสาเหตุของอาการปวดและชา
ทางคลินิกเราเชื่อว่าจะรักษาหมอนรองกระดูก และสามารถบรรเทาสาเหตุและอาการปวดหลังได้
ไม่ว่าจะเป็นวิธีรักษาแบบ PLDD วิธีรักษาแบบ PODD วิธีรักษาแบบไฮบริดเลเซอร์ วิธีรักษาแบบ PIDD วิธีรักษาแบบ DST ทุกวิธีสามารถรักษาหมอนรองกระดูกได้
วิธีรักษาแบบ DST เป็นการรักษาขั้นพื้นฐานและเป็นการรักษาที่สามารถซ่อมแซม และสร้างหมอนกระดูกขึ้นมาใหม่ได้
ลำดับขั้นตอนการเข้ารับการรักษา
-
1
การติดต่อสอบถาม
คลินิกเราเป็นระบบการนัดหมายเท่านั้น ดังนั้นกรุณาโทรมาสอบถามเพื่อทำการนัดหมายก่อนที่ท่านจะเดินทางมาที่คลินิกและหากท่านมีคำถามหรือข้อสงสัยใดๆเพิ่มเติม โปรดอย่าลังเลที่จะติดต่อเรา
-
2
บริการวินิจฉัยฟรีด้วยภาพ
หากท่านส่งต่อภาพ MRI ที่เคยตรวจทีโรงพยาบาลอื่น (ไม่เกินสามเดือน) มาให้เรา เราสามารถให้คำปรึกษาฟรีว่าผู้ป่วยนั้นสามารถเข้ารับการรักษาที่คลินิกเราได้หรือไม่ กรณีที่ท่านอยู่ใกล้คลินิกและต้องการเข้ารับการตรวจ MRIและ X-ray ที่คลินิก ท่านสามารถโทรหาเราเพื่อทำการนัดหมายได้
-
3
เลือกวันทำการรักษา
หากผลการวินิจฉัยยืนยันว่าท่านสามารถเข้ารับการรักษาที่คลินิกเราได้ ท่านสามารถดำเนินการต่อโดยการนัดวันทำการรักษา
-
4
การเตรียมตัวเดินทาง
การรักษาของคลินิกเราสามารถกลับบ้านได้ในวันเดียวไม่จำเป็นต้องนอนพักฟื้นที่โรงพยาบาลหลายวัน ดังนั้นท่านสามารถเดินทางมารักษาที่ประเทศญี่ปุ่นได้ในฐานะวีซ่านักท่องเที่ยว ทั้งนี้กรุณาจัดเตรียมเรื่องตั๋วการเดินทางและที่พักให้เรียบร้อย
-
5
การตรวจก่อนเข้ารับการรักษา
เมื่อท่านเดินทางมาถึงคลินิกแล้วจะต้องทำการตรวจ MRI・เอ็กซเรย์และเข้ารับการตรวจวินิจฉัยจากแพทย์เพื่อฟังคำอธิบายเกี่ยวกับโรคและวิธีการรักษาที่เหมาะสม
-
6
การรักษา
การรักษาจะดำเนินการภายใต้การใช้ยาชาเฉพาะที่และใช้เวลาประมาณ 15-60 นาที ขึ้นอยู่กับวิธีการรักษาและจำนวนของหมอนรองกระดูกสันหลังที่ทำการรักษา
-
7
การเดินทางกลับบ้าน
หลังเข้ารับการรักษาจะต้องนอนพักประมาณ 30 นาที -1 ชั่วโมงและเข้ารับการตรวจอีกครั้ง จากนั้นสามารถเดินทางกลับบ้านได้
-
8
การติดตามผลหลังการรักษา
เราจะติดต่อท่านเป็นระยะเพื่อติดตามอาการ หากท่านมีคำถามหรือข้อสงสัยกรุณาติดต่อมาหาเรา
อัตราค่ารักษาของวิธี DST
จำนวนจุดที่ทำการรักษา | 1จุด | 2จุด | 3จุด | 4จุด | 5จุด |
---|---|---|---|---|---|
อัตราค่ารักษา | 1,320,000 Japanese Yen (JPY) | 1,430,000 Japanese Yen (JPY) | 1,540,000 Japanese Yen (JPY) | 1,650,000 Japanese Yen (JPY) | 1,760,000 Japanese Yen (JPY) |
- หมายเหตุ
- ※สำหรับผู้ที่เข้ารับการรักษาที่คลินิกของเราค่าใช้จ่ายทั้งหมดสำหรับการตรวจวินิจฉัยและ MRIหรือการทดสอบอื่นๆ จะรวมอยู่อัตราค่ารักษาข้างต้น
※จ่ายค่ารักษากึ่งหนึ่งของค่ารักษาเต็ม หากทำการรักษาซ้ำอีกครั้งภายใน 3 ปีหลังการรักษา
※อัตราค่ารักษาข้างต้นยังไม่รวมภาษี
※วิธีการรักษานี้ไม่สามารถใช้ประกันสังคมได้ ดังนั้นต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเอง
※การชำระค่ารักษากรุณาชำระในวันที่เข้ารับการรักษาและสามารถชำระด้วยเงินสดหรือบัตรเครดิตประเภท Visa, Master, Union Pay
※หากมีความต้องการทำกายภาพบำบัด (บำบัดอาการปวดหลัง) สามารถโอนค่าใช้จ่ายผ่านทางธนาคารได้
※สามารถขอคืนภาษีได้สำหรับผู้ที่ทำเรื่องขอคืนภาษีค่ารักษา
คำถามและคำตอบเกี่ยวกับการรักษาแบบ DST
-
ความแตกต่างของอัตราการเกิดซ้ำสำหรับการรักษาแบบผู้ป่วยนอกของคลินิกเราเทียบกับการผ่าตัดเป็นอย่างไร?
การผ่าตัดที่เริ่มมีมาตั้งแต่ปี คศ.1960 เป็นการตัดส่วนที่ผิดปกติ เช่น กระดูกที่ผิดรูปหรือหมอนรองกระดูกเคลื่อนทับเส้นประสาทออกแล้วทำการเชื่อมยึดติดไว้ แต่สกรูนั้นอาจจะสร้างความเสียหายให้กับกระดูกส่วนอื่นอีกทั้งไม่ใช่วิธีการรักษาที่ต้นเหตุ ดังนั้นจึงทำให้เกิดปัญหาขึ้นซ้ำอีกหรือมีอาการปวดหลังแบบใหม่ๆเกิดขึ้น
ด้วยเหตุนี้ในปี คศ.1980 จึงมีความจำเป็นมากขึ้นที่จะต้องรักษาที่ต้นเหตุและคลินิกของเราก็ได้เริ่มต้นทำการรักษาหมอนรองกระดูกนี้ ปัจจุบันการรักษาแบบปลูกถ่ายเซลล์และ DST มีวิวัฒนาการมาก โดยเฉพาะ DST ที่ยอมรับกันว่าสามารถซ่อมแซมและฟื้นฟูหมอนรองกระดูกสันหลังได้และไม่ใช่เพียงแค่ทำให้อาการดีขึ้น แต่เป็นการลดอัตราการเกิดซ้ำได้อีกด้วย -
หลังการรักษาด้วยวิธี DST สามารถเล่นกีฬาได้มากน้อยเพียงใด?
สามารถเล่นกีฬาเป็นงานอดิเรกได้ แต่หากเป็นนักกีฬาก็มีความเป็นไปได้สูงที่จะเกิดการบาดเจ็บของหมอนรองกระดูกขึ้นใหม่ได้ ดังนั้นจึงแนะนำให้ทำ DST ปีละครั้ง
-
ผู้ที่เข้ารับการรักษาด้วยวิธี DST จะมีความสูงเพิ่มขึ้นหรือไม่?
อัตราการเกิดผลข้างเคียงจะแตกต่างกันขึ้นอยู่กับอาการของแต่ละคน ด้วยเหตุผลนี้จึงเกิดความแตกต่างตามสภาพของหมอนรองกระดูกสันหลัง กล่าวคือกรณีที่หมอนรองกระดูกยุบตัวหรือเสียหายมากๆ เมื่อได้รับการซ่อมแซมและฟื้นฟูก็จะเกิดผลข้างเคียงที่ว่าความสูงเพิ่มขึ้นนี้ได้ง่าย
-
ทราบมาว่ามีบางกรณีที่หลังจากรักษาด้วยวิธี DST จะมีอาการปวดหลังส่วนล่างแย่ลงชั่วคราว อยากทราบว่านานแค่ไหน?
กรณีที่ปริมาณหมอนรองกระดูกสันหลังเพิ่มขึ้นในทันทีจะมีอาการปวดหลังส่วนล่างเกิดขึ้นพร้อมกับผลข้างเคียงเรื่องความสูงที่เพิ่มขึ้น เหตุผลที่มีอาการปวดเกิดขึ้นเพราะว่าเส้นเอ็นของกระดูกสันหลังที่หดตัวได้มีการขยายตัวขึ้น ระยะเวลาที่มีอาการอยู่ที่ประมาณสองสัปดาห์ หลังจากนั้นอาการปวดจะหายไป
-
หลังเข้ารับการรักษาด้วยวิธี DST สามารถไปทำกายภาพฟื้นฟู เข้าโรงยิม นวดและจัดกระดูกได้หรือไม่?
หลังผ่านไป 2 สัปดาห์ ก็สามารถทำได้ไม่มีปัญหาอะไร
-
จำนวนจุดที่จะทำการรักษาด้วยวิธี DST มีการกำหนดอย่างไร?
เนื่องจากมีความเป็นไปได้ว่าหมอนรองกระดูกสันหลังอาจจะมีความเสียหายเกิดขึ้นแม้ในตำแหน่งที่ไม่พบความผิดปกติจากการตรวจ MRI แพทย์จึงจะตรวจเช็ครอยแตกร้าวก่อนทำการรักษาแล้วกำหนดตำแหน่งที่จะรักษา
หากหมอนรองกระดูกสันหลังเกิดการบาดเจ็บหรือมีความเสียหาย สารน้ำข้างในก็จะรั่วไหลออกมาจากส่วนที่เกิดความเสียหายนั้นและทำให้เส้นประสาทเกิดการอักเสบอันนำไปสู่สาเหตุของอาการปวดหลังส่วนล่าง ดังนั้นแพทย์จะใช้สารทึบรังสีตรวจสอบสภาพของหมอนรองกระดูกสันหลังทั้งหมดที่สงสัยว่ามึความผิดปกติ เมื่อตรวจสอบความผิดปกติได้อย่างชัดเจนแล้วจะกำหนดจำนวนตำแหน่งที่จะทำการรักษา -
ทำไม DST จึงเหมาะกับผู้ที่อาการไม่ดีขึ้นแม้เคยผ่าตัดโรคหมอนรองกระดูกเคลื่อนทับเส้นประสาทมาแล้ว?
การผ่าตัดรักษาโรคหมอนรองกระดูกเคลื่อนทับเส้นประสาทเป็นการกำจัดส่วนที่ยื่นออกมา แต่หมอนรองกระดูกที่ได้รับความเสียหายยังถูกปล่อยทิ้งไว้เช่นนั้น ด้วยเหตุนี้สารน้ำ (Nucleus pulposus)ที่อยู่ข้างในจึงเกิดการรั่วไหลออกมาจากหมอนรองกระดูกสันหลังบริเวณที่เกิดความเสียหายใหม่อีกและเกิดการอักเสบอย่างต่อเนื่อง การรักษาแบบ DST สามารถยับยั้งการรั่วไหลของสารน้ำได้ด้วยการรักษาบริเวณที่เกิดความเสียหายของหมอนรองกระดูกสันหลัง
-
หากตัวยาที่ฉีดเข้าไปสัมผัสโดนกับเส้นประสาทจะมีปัญหาหรือไม่?
ตัวยาที่ใช้ไม่ทำให้เกิดการระคายเคืองหรือทำให้อักเสบจึงไม่มีผลกระทบกับเส้นประสาท เราทำการรักษาคนไข้มากว่า 2,000 ราย ยังไม่มีรายงานเกี่ยวกับความเสียหายต่อเส้นประสาท
-
DST สามารถรักษาโรคกระดูกสันหลังคดได้หรือไม่?
หากกระดูกสันหลังคดในระดับที่ไม่รุนแรงก็สามารถรักษาด้วยวิธี DST ได้ แต่ถ้าเป็นระดับที่รุนแรงการรักษาก็เป็นไปได้ยาก ทั้งนี้เราสามารถพิจารณาได้ว่ารักษาได้หรือไม่จากการดูภาพรังสีวินิจฉัย X-Ray หรือ MRI
-
การรักษาหมอนรองกระดูกมีวิธีอะไรบ้าง
สำหรับขั้นตอนแบบผ่าตัด มีทั้งการผ่าตัดเพื่อเอาหมอนรองกระดูกออก และ การผ่าตัดเชื่อมกระดูก
แต่ไม่สามารถรักษาหมอนรองกระดูกให้หายขาดได้ และมีโอกาสกลับมาเป็นอีก -
ในการรักษาที่คลินิกรักษาอาการปวดหลังนานาชาติ ILC นั้นต้องนอนพักที่คลินิกประมาณกี่วัน
สามารถกลับบ้านได้เลยหลังรับการรักษา โดยไม่ต้องนอนพักที่คลินิก
-
หมอนรองกระดูกจะหายไปเลยไหม
หายไป แต่จะขึ้นอยู่กับแต่ละคน
เมื่อเวลาผ่านไป กลไกของหมอนรองกระดูกจะเสื่อมสภาพ และจะแข็งตัวเนื่องจากขาดความยืดหยุ่น ในบางกรณีกระดูกสันหลังส่วนบนและส่วนล่างจะชนติดกันเนื่องจากการสึกหรอ -
มีวิธีอื่นนอกจากวิธีผ่าตัดไหม
มี ก่อนการผ่าตัดจะใช้วิธีการรักษาแบบประคับประคองไปก่อน
มีการจ่ายยาและชี้แนะวิธีออกกำลังกาย ซึ่งเป็นวิธีบรรเทาอาการปวด
แต่ไม่สามารถรักษาหมอนรองกระดูกได้ หากต้องการรักษาถึงส่วนที่เกิดอาการจึงต้องใช้วิธีการผ่าตัดรักษา -
เรื่องที่ต้องระวังเมื่อมีอาการปวดบริเวณหลังส่วนล่าง
ควรเลี่ยงการยกของหนักๆ การเลี่ยงท่าทางที่ต้องใช้หลังส่วนล่างหรือสะโพก
ภาพรวมวิธีการรักษา
-
วิธีการรักษาแบบ DST (Discseel™)
การรักษาหมอนรองกระดูกสันหลังที่เริ่มมีมาตั้งแต่ปี 2010 ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา วิธีนี้สามารถรักษาโรคได้หลายหลายประเภทรวมถึงผู้ป่วยที่มีปัญหาหลังการผ่าตัดด้วยและเป็นเพียงวิธีเดียวที่สามารถ “ ซ่อมแซมและฟื้นฟูหมอนรองกระดูกสันหลัง ” ได้
รายละเอียดคลิกที่นี่ -
วิธีการรักษาแบบ PIDD (Implant)
การรักษาแบบปลูกฝังเข้าไปในหมอนรองกระดูกสันหลังที่เริ่มมีมาตั้งแต่ปี 2000 ประสิทธิภาพที่ได้จะไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อหมอนรองกระดูกสันหลังเช่นเดียวกับวิธีแบบ PLDD วิธีนี้เหมาะสำหรับการรักษาโรคหมอนรองกระดูกเคลื่อนทับเส้นประสาทเท่านั้น
รายละเอียดคลิกที่นี่ -
วิธีการรักษาแบบ ไฮบริดเลเซอร์
การรักษาที่รวมข้อดีของวิธีการรักษาแบบ PLDD และ PODD เข้าด้วยกัน วิธีนี้เหมาะสำหรับการรักษาโรคหมอนรองกระดูกเคลื่อนทับเส้นประสาทเท่านั้น
รายละเอียดคลิกที่นี่ -
วิธีการรักษาแบบ PODD (โอโซน)
การรักษาหมอนรองกระดูกสันหลังด้วยโอโซนที่ใช้รักษากันอย่างแพร่หลายในแถบยุโรปตั้งแต่ปี 1990 วิธีนี้สามารถรักษาโรคได้หลากหลายประเภท
รายละเอียดคลิกที่นี่ -
วิธีการรักษาแบบ PLDD (เลเซอร์)
การรักษาหมอนรองกระดูกสันหลังด้วยเลเซอร์แบบผู้ป่วยนอกเริ่มมีมาตั้งแต่ปี 1980 และเป็นวิธีการรักษาหลักๆที่ใช้ในประเทศญี่ปุ่น วิธีนี้เหมาะสำหรับการรักษาโรคหมอนรองกระดูกเคลื่อนทับเส้นประสาทเท่านั้น
รายละเอียดคลิกที่นี่