การรักษาต้นเหตุและสาเหตุที่แท้จริงของโรคหมอนรองกระดูกเคลื่อนทับเส้นประสาท
- หน้าหลัก/
- ภาพรวมวิธีการรักษา/โรคที่รักษา/
- การรักษาต้นเหตุและสาเหตุที่แท้จริงของโรคหมอนรองกระดูกเคลื่อนทับเส้นประสาท
โรคหมอนรองกระดูกเคลื่อนทับเส้นประสาทคืออะไร?
หากอธิบายเกี่ยวกับหมอนรองกระดูกสันหลังแบบง่ายๆก็คือ หมอนรองกระดูกที่อยู่ระหว่างกระดูกสันหลังแต่ละข้อ ภายในแกนกลางของหมอนรองกระดูกสันหลังจะมีสารน้ำ (Nucleous Pulposus) ที่มีลักษณะเหมือนวุ้นและเยื่อหุ้มชั้นนอก (Annulus Fibrosus) ซึ่งเป็นกลุ่มเส้นใยที่ซ้อนกันเป็นชั้นๆเต็มไปด้วยคอลลาเจนเป็นตัวห่อหุ้มสารน้ำไม่ให้เคลื่อนออกมา สรุปได้ว่าหมอนรองกระดูกมีองค์ประกอบสองส่วน คือ สารน้ำ (Nucleous Pulposus) และเยื่อหุ้มชั้นนอก (Annulus Fibrosus) โรคหมอนรองกระดูกเคลื่อนทับเส้นประสาทคือ ลักษณะที่เยื่อหุ้มชั้นนอกเกิดรอยแตกหรือฉีกขาดทำให้สารน้ำที่อยู่ภายในเคลื่อนออกมาข้างนอก
โรคหมอนรองกระดูกเคลื่อนทับเส้นประสาทแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ
-
1
"แบบ Protrusion": เยื่อหุ้มชั้นนอกมีรอยแตกเล็กน้อย สารน้ำยังไม่เคลื่อนทะลุออกมาจากเยื่อหุ้มชั้นนอก แต่เคลื่อนตัวไปด้านหลังและกดทับเส้นประสาทบางส่วน
-
2
"แบบ Extrusion": เยื่อหุ้มชั้นนอกเกิดรอยแตกจากการที่หมอนรองกระดูกได้รับบาดเจ็บ สารน้ำจึงเคลื่อนทะลุออกมาจากเยื่อหุ้มชั้นนอกและกดทับที่เส้นประสาทโดยตรง


สาเหตุของโรคหมอนรองกระดูกเคลื่อนทับเส้นประสาทคืออะไร?
สาเหตุหลักๆคือ ความเสื่อมสภาพของหมอนรองกระดูกสันหลังที่เกิดจากปัจจัยทางพันธุกรรม อายุที่เพิ่มขึ้นและพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน เมื่อเยื่อหุ้มชั้นนอกเกิดรอยแตกเนื่องจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตหรืออายุที่เพิ่มมากขึ้นนั้น สารน้ำที่อยู่ในแกนกลางของหมอนรองกระดูกสันหลังซึ่งเต็มไปด้วยส่วนประกอบของน้ำก็จะรั่วไหลออกมาจากเยื่อหุ้มเกิดการสูญเสียมวลน้ำทำให้หมอนรองกระดูกสันหลังบางและยุบตัวลง โดยเฉพาะการยกของหนักในชีวิตประจำวันหรือเล่นกีฬาอย่างรุนแรงอันเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการบาดเจ็บของหมอนรองกระดูกสันหลัง เราสามารถตรวจสอบสภาพของหมอนรองกระดูกสันหลังได้โดยการ X-Ray หรือ MRI บริเวณที่เป็นสีดำทึบคือหมอนรองกระดูกสันหลังที่เกิดการยุบตัว


สาเหตุของอาการปวดคืออะไร?
ก่อนหน้านี้มีเรื่องที่เป็นปริศนาคือ มีบางกรณีที่หมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อนทับเส้นประสาทระดับรุนแรงแต่ไม่มีอาการปวดและในทางตรงกันข้ามมีบางกรณีที่เคลื่อนทับเพียงเล็กน้อยแต่กลับมีอาการปวดอย่างรุนแรง แต่เมื่อเร็วๆนี้จึงได้เข้าใจว่าสารน้ำที่ยื่นทะลุออกมาทำให้เกิดการอักเสบ การอักเสบที่ลุกลามไปยังเส้นประสาทที่อยู่บริเวณใกล้เคียงนี้ทำให้เกิดอาการปวด การอักเสบของสารน้ำที่ยื่นออกมาพิสูจน์แล้วว่าสามารถหายเองได้ตามระยะเวลา(หลายเดือน) ถ้าให้เปรียบเทียบก็คงเหมือนกับการจุดกองไฟ หากเราโยนฟืนใหม่เข้าไปไฟก็จะลุกไหม้แรงขึ้น แต่พอผ่านไปสักช่วงระยะหนึ่งไฟมันก็จะดับไปเอง ส่วนฟืนที่มอดไหม้ก็จะหลงเหลือเป็นเถ้าถ่าน สำหรับส่วนที่เคลื่อนออกมาหลังการอักเสบหากมันหายเองได้ตามธรรมชาติแล้วจะหลงเหลือร่องรอยไว้เช่นเดียวกับเถ้าถ่านและส่วนที่เคลื่อนออกมาแล้วหลงเหลือไว้เหมือนกับเถ้าถ่านนี้ เมื่อนำไปตรวจสอบด้วยภาพวินิจฉัยเราจะมองเห็นเป็นการเคลื่อนทับเส้นประสาทที่อยู่ในระดับรุนแรง แต่เนื่องจากเป็นสภาพหลังการอักเสบแล้วจึงไม่มีอาการใดปรากฎออกมา
อาการปวดจากหมอนรองกระดูกเคลื่อนทับเส้นประสาทจึงมีสาเหตุมาจากการอักเสบของสารน้ำอันใหม่ที่เคลื่อนทะลุออกมา ไม่ใช่การกดทับเส้นประสาททางกายภาพจากสารน้ำที่เคลื่อนทะลุออกมาแล้ว
กล่าวคือ ผู้ที่มีอาการปวดอย่างต่อเนื่องแม้ว่าจะผ่านมาหลายเดือนแสดงว่าเกิดจากสารน้ำในหมอนรองกระดูกสันหลังที่รั่วไหลออกมาใหม่ ในทางกลับกันผู้ที่มีอาการดีขึ้นแสดงว่าไม่มีการรั่วไหลของสารน้ำแล้ว การผ่าตัดเป็นการทำให้อาการอักเสบหายไปโดยการนำเอาสารน้ำส่วนที่รั่วไหลออกซึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญมาก แต่ไม่สามารถปิดรอยแตกของเยื่อหุ้มชั้นนอกของหมอนรองกระดูกสันหลังได้ สารน้ำจึงเกิดการรั่วไหลออกมาอย่างต่อเนื่องเป็นสาเหตุที่ทำให้มีอัตราการเกิดซ้ำสูง
-
การผ่าตัดไม่สามารถรักษาต้นเหตุของปัญหาหมอนรองกระดูกสันหลังได้
วิธีรักษาโรคหมอรองกระดูกเคลื่อนทับเส้นประสาท
การรักษาแบบประคับประคอง การรักษาโดยการผ่าตัด การรักษาโดยให้มีแผลน้อยที่สุด
สำหรับการรักษาในระยะแรกจะเลือกใช้วิธีรักษาแบบประคับประคองมากที่สุด ฉีดยาบล็อกหลังหรือใช้ยาในการรักษาเพื่อบรรเทาอาการปวดและชา
แต่บางครั้งก็ไม่สามารถบรรเทาอาการปวดและชาได้ จึงอาจมีการพิจารณาให้รักษาแบบผ่าตัด
การผ่าตัดหมอนรองกระดูดเคลื่อนทับเส้นประสาทนั้นจะขึ้นอยู่กับระดับความเสียหายของหมอนรองกระดูก แต่ในกรณีการผ่าตัดหมอนที่ยื่นออกมานั้นจะใช้วิธี PELD / MED โดยจะใช้กล้อง Endoscope ส่องในการผ่าตัด
ซึ่งเป็นวิธีปกติทั่วไป และสำหรับการรักษาโดยให้มีแผลน้อยที่สุดนั้นจะไม่มีการผ่าหลังแต่จะใช้เข็มเพียง 1 เล่ม รักษา โดยจะเลือกใช้วิธี PLDD และ วิธีการฉีดสารยาเข้าไปในหมอนรองกระดูกซึ่งเป็นวิธีรักษาแบบใหม่
การรักษาของเรามีประสิทธิภาพอย่างไรสำหรับโรคหมอนรองกระดูกเคลื่อนทับเส้นประสาท?
ที่คลินิกของเราดำเนินการรักษาโดยการซ่อมแซมและฟื้นฟูหมอนรองกระดูกสันหลังที่มีรอยแตกหรือฉีกขาดจากเยื่อหุ้มชั้นนอกที่เสื่อมสภาพ หากขนาดของหมอนรองกระดูกสันหลังไม่ได้ลดลงมากหรือเยื่อหุ้มไม่ได้มีความเสียหายก็สามารถรักษาด้วยวิธี PIDD PODD และ PLDD ได้ แต่ถ้าสภาพหมอนรองกระดูกสันหลังที่มีรอยแตกหรือฉีกขาดจะทำให้เกิดการสูญเสียมวลน้ำและค่อยๆบางลง กรณีนี้แนะนำให้รักษาด้วยวิธี DST เพราะวิธีนี้สามารถฟื้นฟูรอยแตกของเยื่อหุ้มชั้นนอกของหมอนรองกระดูกสันหลังอันเป็นต้นตอของสาเหตุได้ แม้แต่ผู้ที่เคยผ่าตัดมาแล้วแต่อาการไม่ดีขึ้นหรือผู้ที่กลับมาเป็นซ้ำก็สามารถรักษาด้วยวิธี DST นี้ได้ สารน้ำในหมอนรองกระดูกสันหลังที่รั่วไหลออกมาอย่างต่อเนื่องจะทำให้หมอนรองกระดูกยุบตัวจนสุดท้ายทำให้เกิดโรคแทรกซ้อน เช่น โรคโพรงกระดูกสันหลังตีบแคบ ดังนั้นการทำให้หมอนรองกระดูกสันหลังกลับสู่สภาวะเดิมที่มีความยืดหยุ่นโดยการป้องกันการรั่วไหลของสารน้ำจึงเป็นการควบคุมวิวัฒนาการของโรคอย่างเช่น โรคโพรงกระดูกสันหลังตีบแคบได้
-
การซ่อมแซมและฟื้นฟูหมอนรองกระดูกสันหลังด้วยการรักษาแบบ DST
-
ภาพตัวอย่างของหมอนรองกระดูกสันหลังที่ได้รับการซ่อมแซมและฟื้นฟูโดยการรักษาแบบ DST
DST เป็นวิธีที่สามารถทำให้หมอนรองกระดูกสันหลังที่เสื่อมสภาพ ยุบตัวหรือสูญเสียมวลน้ำกลับสู่สภาพที่อ่อนเยาว์ได้โดยการซ่อมแซมฟื้นฟูรอยแตกและความเสื่อมสภาพของหมอนรองกระดูกสันหลัง แต่กรณีที่หมอนรองกระดูกเคลื่อนในระดับที่รุนแรง เราจะแนะนำให้ผ่าตัดเพื่อลดอาการอักเสบก่อนและหลังการผ่าตัดจึงรักษาที่ตัวหมอนรองกระดูกสันหลังกับทางคลินิกเราเพื่อรักษาหน้าที่การทำงานของหมอนรองกระดูกสันหลังและเป็นการป้องกันการเกิดซ้ำอีก
บางคนอาจจะคิดว่าหมอนรองกระดูกสันหลังปกติดีโดยดูจากผลตรวจ MRI หรือเอ็กซเรย์จึงได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นอาการปวดหลังที่ไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด แต่ในความเป็นจริงแล้วเยื่อหุ้มชั้นนอกอาจจะมีรอยแตกหรือสารน้ำข้างในค่อยๆรั่วไหลออกมา การรักษาด้วยวิธี DST ของคลินิกเราจะตรวจสอบสภาพรอยแตกของหมอนรองกระดูกสันหลังด้วยสารทึบรังสีจึงสามารถวินิจฉัยโรคของผู้ป่วยที่มีอาการปวดหลังแต่ไม่ทราบสาเหตุแน่ชัดเหล่านั้นได้
วิธีการป้องกันโรคหมอนรองกระดูกเคลื่อนทับเส้นประสาท
โรคหมอนรองกระดูกเคลื่อนทับเส้นประสาทเป็นวิธีที่พบได้บ่อยในคนหนุ่มสาว และกลุ่มอายุที่ใช้แรงงานเป็นสำคัญด้วย
โดยเฉะพาะกลุ่มคนที่นั่งทำงานเป็นเวลานานๆ นั้นปกติแล้วต้องระมัดระวังเกี่ยวกับท่าทางและวิธีการเคลื่อนไหวตัวเองด้วย
บางครั้งการลุกขึ้นยืนและยืดกล้ามเนื้อบ้างหรือเดินบ้างจะช่วยลดภาระการทำงานของหลังช่วงล่างได้
อีกทั้งการบริหารร่างกายหรือการยืดตัวจะช่วยไม่ทำให้เจ็บหลังและยังเป็นสิ่งสำคัญในการป้องกันการเกิดซ้ำด้วย
หากมีของหนักจำนวนมากให้งอเข่าเพื่อยกของขึ้น โดยไม่ต้องใช้หลังในการยก
ถามตอบเกี่ยวกับโรคหมอนรองกระดูกเคลื่อนทับเส้นประสาท
-
การผ่าตัดหมอนรองกระดูกจะใช้เวลาประมาณกี่ชั่วโมง กี่วันถึงจะเดินได้
จะขึ้นอยู่กับวิธีรักษา แต่วิธี ELD-MED จะต้องอยู่คลินิกเป็นเวลา 2-3 วัน หลังจากนั้นถึงกลับบ้านได้
คลินิกเราก็มีวิธีรักษา PLDD และ DST หลังผ่าตัดเพียง 1 ชั่วโมงก็สามารถลุกเดินและกลับบ้านได้ -
โรคหมอนรองกระดูกเคลื่อนทับเส้นประสาทเป็นโรคอันตรายไหม
ขึ้นอยู่กับอาการของแต่ละคน บางคนมีอาการหนัก นั่งไม่ได้ เดินไม่ได้ ก่อนอื่นจะวินิจฉัยหลังส่วนล่างก่อนแล้วจะพิจารณาวิธีรักษาต่อไป
-
เมื่อกำจัดส่วนที่เคลื่อนทับเส้นประสาทออกแล้ว จะกลับมาเป็นอีกครั้งหรือไม่
เมื่อกำจัดออกไปแล้วจะรู้สึกบรรเทาอยู่บ้าง แต่ก็มีบางกรณีที่อาจกลับมาเป็นได้อีกเพราะสารน้ำในหมอนรองกระดูกจากส่วนที่ซ่อมแซมไปแล้วรั่วไหลออกมาอีกครั้ง
ดังนั้นจึงมีเพียงวิธี DST เท่านั้นที่สามารถเลี่ยงการเปิดปากแผลได้และลดความเสี่ยงของการเกิดซ้ำได้ด้วย -
เคยได้รับการผ่าตัดมาแล้ว ยังสามารถผ่าตัดได้อีกครั้งหรือไม่
สามารถทำได้
คลินิกของเราใช้เข็มในการรักษา เพราะฉะนั้นแม้ว่าเคยผ่าตัดมาแล้วก็สามารถรักษาได้
อันดับแรกจะมีการสอบถามอาการและให้คำปรึกษาเพื่อวินิจฉัยสำหรับวิธีรักษาที่ดีที่สุด -
ในกรณีที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคหมอนรองกระดูกเคลื่อนทับเส้นประสาทแล้ว ไม่ควรออกกำลังกายใช่ไหม
การออกกำลังกายควรอยู่ในระดับปานกลางเว้นแต่ว่าจะมีอาการเจ็บปวดเกินจนออกกำลังกายไม่ได้
หากไม่ออกกำลังกายกล้ามเนื้ออาจอ่อนแอลงและความเจ็บปวดอาจเพิ่มขึ้น
อาการอาจบรรเทาลงได้หากมีวิธีการออกกำลังกายที่เหมาะสม
คลินิกเราได้ร่วมมือจากผู้เชี่ยวชาญติดตั้งเครื่องมือทางกายภาพบำบัดเพื่อการพักฟื้นอาการปวดหลัง -
มีวิธีการวินิจฉัยโรคหมอนรองกระดูกเคลื่อนทับเส้นประสาทอย่างไร
จะมีการดูประวัติการรักษา สอบถามอาการที่เกิดขึ้นตั้งแต่ครั้งแรก เชคผลการตรวจร่างกาย ตรวจสอบจากภาพด้วยเครื่อง MRIหรือ เครื่อง X-ray และวินิจฉัยภาพรวมทั้งหมด
ผลจากเครื่อง MRI จะมีประสิทธิภาพที่สุดในการวินิจฉัยโรคหมอนรองกระดูกเคลื่อนที่
การตรวจด้วยเครื่อง MRI จะแสดงให้เห็นถึงตำแหน่งของจุดที่หมอนรองกระดูกเลื่อน ขนาด รูปร่าง และจุดที่กดทับเส้นประสาท และวินิจฉัยว่าจะสามารถหายเองได้หรือไม่
หรือหากต้องได้รับการรักษา จะต้องรักษาด้วยวิธีใด เป็นต้น
ในการตรวจด้วยเครื่อง MRI อาจจะไม่พบจุดที่เลื่อนที่ขนาดเล็กได้ ขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพของเครื่อง MRIและวิธีการถ่ายภาพ
อาจมีสาเหตุอื่นของอาการปวดและอาการชาได้ ถึงแม้ว่าจะค้นพบจุดที่เลื่อนแล้วก็ตาม
อาจมีการกล่าวว่า นี่ไม่ใช่โรคหมอนรองกระดูกเคลื่อนทับเส้นประสาทแต่เป็นหมอนเลื่อนเพียงเล็กน้อยเท่านั้น หรือ บอกว่าเป็นโรคหมอนรองกระดูกเคลื่อนทับเส้นประสาทแต่ก็อาจเป็นโรคอื่นได้อีกเช่นกัน
ฉะนั้น ก่อนอื่นต้องลองเข้ารับการวินิจฉัยก่อนเป็นอันดับแรก -
มีวิธีไหนบ้างที่รักษาโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทให้หายอย่างรวดเร็ว
หากกล่าวแบบบทสรุปคือ สิ่งที่สำคัญที่สุดคือพยายามใช้ชีวิตประจำวันเพื่อไม่ให้มีอาการออกปวด
ไม่มียาที่ช่วยลดขนาดหมอนรองกระดูกเคลื่อนทับเส้นประสาท หรือการออกกำลังกาย หรือการฟื้นฟูสมรรถภาพเพื่อลดหมอนรองกระดูก
ยิ่งไปกว่านั้นการรักษาอื่นเช่น การบิดยืดร่างกาย การนวด หรือการใช้ไฟฟ้าช่วยรักษา ก็ไม่ใช่วิธีการรักษา
หากมีอาการปวดหรือชานั้นจะขึ้นอยู่กับท่าทางหรือการเคลื่อนไหวของร่างกาย ซึ่งเป็นไปได้ที่เส้นประสาทนั้นถูกกระตุ้น
ดังนั้นการดำเนินชีวิตประจำวันเพื่อเลี่ยงการปวดเหล่านี้คือสิ่งสำคัญ -
จะเป็นอะไรไหมถ้าจะไม่รักษาโรคหมอนรองกระดูกเคลื่อนทับเส้นประสาท
โรคหมอนรองกระดูกเคลื่อนทับเส้นประสาทเป็นโรคที่อาการจะหายไป และสามารถหายเองได้
หมอนรองกระดูกไม่ได้ซ่อมแซม หรือสร้างใหม่ได้เอง แต่อาจหดหรือหายไปเอง
ก่อนมีการพิจารณาถึงการผ่าตัด จะต้องดูถึงการเปลี่ยนแปลงของอาการ พร้อมให้คำแนะนำถึงวิธีรักษาที่ทำให้เกิดการเสียหายน้อยที่สุด -
ต้องระมัดระวังเรื่องอะไรบ้าง หลังจากผ่าตัดโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท
สามารถกลับบ้านได้เลยหลังจากเข้ารับการรักษาที่คลินิกของเรา
แต่ควรใช้เข็มขัดพยุงหลังในขณะกลับบ้านด้วย
ประมาณ 1 เดือน ขอให้งดการออกกำลังกายที่รุนแรง แต่สามารถเดินออกกำลังกายเบาๆ และบริหารร่างกายเบาๆ ได้ -
ขั้นตอนในการรักษา จำเป็นต้องมารักษาโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทที่คลินิกบ่อยหรือไม่
หากรักษาที่คลินิกเรา หลังจากได้รับการวินิจฉัยแล้วสามารถเข้ารับการรักษาได้เลยภายในวันเดียวกัน
ในกรณีที่ต้องการเพียงรับฟังคำวินิจฉัย อาจเข้ารับการรักษาอีกวันต่อมาก็ได้。 -
หลังผ่าตัดโรคหมอนรองกระดูกเคลื่อนทับเส้นประสาทแล้ว สามารถขึ้นเครื่องบินได้หรือไม่
ขึ้นอยู่แต่ละอาการ แต่ก็สามารถขึ้นเครื่องบินได้
แต่ในกรณีที่มีอาการปวดหลังหลังการผ่าตัด อาจจะเป็นเรื่องยากที่จะขึ้นเครื่องบิน และขึ้นอยู่กับคำแนะนำของหมอ
กรุณาติดต่อมาที่คลินิกเราหากมีอาการผิดปกติ
ค่าใช้จ่ายในการรักษาด้วยวิธี DST
จำนวนจุดที่ทำการรักษา | 1จุด | 2จุด | 3จุด | 4จุด | 5จุด |
---|---|---|---|---|---|
อัตราค่ารักษา | 1,320,000 Japanese Yen (JPY) | 1,430,000 Japanese Yen (JPY) | 1,540,000 Japanese Yen (JPY) | 1,650,000 Japanese Yen (JPY) | 1,760,000 Japanese Yen (JPY) |
- หมายเหตุ
- ※สำหรับผู้ที่เข้ารับการรักษาที่คลินิกของเราค่าใช้จ่ายทั้งหมดสำหรับการตรวจวินิจฉัยและ MRIหรือการทดสอบอื่นๆ จะรวมอยู่อัตราค่ารักษาข้างต้น
※จ่ายค่ารักษากึ่งหนึ่งของค่ารักษาเต็ม หากทำการรักษาซ้ำอีกครั้งภายใน 3 ปีหลังการรักษา
※อัตราค่ารักษาข้างต้นยังไม่รวมภาษี
※วิธีการรักษานี้ไม่สามารถใช้ประกันสังคมได้ ดังนั้นต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเอง
※การชำระค่ารักษากรุณาชำระในวันที่เข้ารับการรักษาและสามารถชำระด้วยเงินสดหรือบัตรเครดิตประเภท Visa, Master, Union Pay
※หากมีความต้องการทำกายภาพบำบัด (บำบัดอาการปวดหลัง) สามารถโอนค่าใช้จ่ายผ่านทางธนาคารได้
※สามารถขอคืนภาษีได้สำหรับผู้ที่ทำเรื่องขอคืนภาษีค่ารักษา
ความร่วมมือระหว่างILCและILMในการรักษาโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท
วิธีรักษา DST สามารถช่วยซ่อมแซมและสร้างหมอนรองกระดูกขึ้นมาใหม่ได้ นอกจากนั้นคลินิกเรายังมีวิธีรักษาหมอนรองกระดูกที่สามารถกลับบ้านได้ภายในวันเดียวอีกด้วย
แต่สาเหตุของการปวดหลังนั้นอาจไม่ได้มาจากหมอนรองกระดูกเพียงอย่างเดียว แต่อาจมาจากกล้ามเนื้อ ข้อต่อ หรือ เส้นเอ็น ก็เป็นได้
คลินิกเราได้ร่วมมือจากผู้เชี่ยวชาญติดตั้งเครื่องมือทางกายภาพบำบัดเพื่อการพักฟื้นอาการปวดหลัง ที่อาจได้รับผลกระทบจากกล้ามเนื้อ ข้อต่อ หรือ เส้นเอ็น ซึ่งเราจะมีการให้รักษาควบคู่ไปด้วย
ILM Medical Fitness มีโปรแกรมระยะสั้นสำหรับผู้ป่วยที่มาจากต่างประเทศหรือจากต่างจังหวัดอีกด้วย
วิธีรักษาของILCคลินิก
วิธีรักษาหมอนรองกระดูกที่สามารถกลับบ้านได้ภายในวันเดียว
การรักษาโรคปวดหลังที่สาเหตุมาจากเส้นประสาท


วิธีรักษาของILM Medical Fitness
การฟื้นฟูสมรรถภาพอาการปวดหลัง
การรักษาโรคปวดหลังที่สาเหตุมาจากกล้ามเนื้อ ข้อต่อ หรือ เส้นเอ็น


ภาพรวมวิธีการรักษา
-
วิธีการรักษาแบบ DST (Discseel™)
การรักษาหมอนรองกระดูกสันหลังที่เริ่มมีมาตั้งแต่ปี 2010 ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา วิธีนี้สามารถรักษาโรคได้หลายหลายประเภทรวมถึงผู้ป่วยที่มีปัญหาหลังการผ่าตัดด้วยและเป็นเพียงวิธีเดียวที่สามารถ “ ซ่อมแซมและฟื้นฟูหมอนรองกระดูกสันหลัง ” ได้
รายละเอียดคลิกที่นี่ -
วิธีการรักษาแบบ PIDD (Implant)
การรักษาแบบปลูกฝังเข้าไปในหมอนรองกระดูกสันหลังที่เริ่มมีมาตั้งแต่ปี 2000 ประสิทธิภาพที่ได้จะไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อหมอนรองกระดูกสันหลังเช่นเดียวกับวิธีแบบ PLDD วิธีนี้เหมาะสำหรับการรักษาโรคหมอนรองกระดูกเคลื่อนทับเส้นประสาทเท่านั้น
รายละเอียดคลิกที่นี่ -
วิธีการรักษาแบบ ไฮบริดเลเซอร์
การรักษาที่รวมข้อดีของวิธีการรักษาแบบ PLDD และ PODD เข้าด้วยกัน วิธีนี้เหมาะสำหรับการรักษาโรคหมอนรองกระดูกเคลื่อนทับเส้นประสาทเท่านั้น
รายละเอียดคลิกที่นี่ -
วิธีการรักษาแบบ PODD (โอโซน)
การรักษาหมอนรองกระดูกสันหลังด้วยโอโซนที่ใช้รักษากันอย่างแพร่หลายในแถบยุโรปตั้งแต่ปี 1990 วิธีนี้สามารถรักษาโรคได้หลากหลายประเภท
รายละเอียดคลิกที่นี่ -
วิธีการรักษาแบบ PLDD (เลเซอร์)
การรักษาหมอนรองกระดูกสันหลังด้วยเลเซอร์แบบผู้ป่วยนอกเริ่มมีมาตั้งแต่ปี 1980 และเป็นวิธีการรักษาหลักๆที่ใช้ในประเทศญี่ปุ่น วิธีนี้เหมาะสำหรับการรักษาโรคหมอนรองกระดูกเคลื่อนทับเส้นประสาทเท่านั้น
รายละเอียดคลิกที่นี่